วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยบารอค - รอคโคโค

ศิลปะวัฒนธรรมตะวันตกสมัยบารอคและรอคโคโค


ศิลปะแบบบารอค
ศิลปกรรมบารอคมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอิตาลี จากนั้นจึงกระจายออกไปทั่วอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศยุโรป มีการปฏิวัติทางศิลปกรรมในช่วงระหว่างค.ศ. 1550 - 1750 แต่มีความเจริญสูงสุดอยู่ระหว่างค.ศ. 1680 - 1730 ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะในช่วงเวลานี้ว่า High - Baroque

          ศิลปะบารอคเกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของศิลปะบารอกเปลี่ยนแปลงจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแฝงปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงาม หรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหราเป็นพิเศษ ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในประเทศอิตาลี และกลุ่มประเทศคาทอลิก
ลักษณะเด่นของรูปแบบสถาปัตยกรรมบารอคโดยรวม
ลักษณะรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อจากสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ ด้วยการเพิ่มเติมโครงสร้างส่วนประกอบและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเข้าไปอีกลักษณะรูปแบบจากความเรียบง่ายมั่นคง มาสู่ความแพรวพราวและดูเคลื่อนไหว มีการใช้โครงสร้างของเส้นโค้งและเส้นคด แสดงความเคลื่อนไหวมากขึ้น และส่วนประกอบมีความตื้นลึกหลายชั้น ฝาผนังแต่ละส่วนมีการเล่นมิติในพื้นที่ส่วนย่อย

ผลงานประติมากรรมบารอคนั้นมักจะแหวกกรอบสถาปัตยกรรม โดยถูกจัดวางให้โดดเด่นเป็นอิสระในตนเอง เพื่อให้บังเกิดผลทางการรับรู้ จึงมีการใช้หินอ่อน หินสี หินสำริด รวมทั้งการติดกระจกสี ประกอบกับการสร้างฉากให้ประติมากรรมเกิดมิติและการลวงตา เพื่อเป็นการเพิ่มผลทางการมองเห็นให้เกิดความตรึงใจ โดนเฉพาะจิตรกรรม ลักษณะรูปแบบงานจิตรกรรมนั้นจะเป็นการเน้นย้ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสง เงา เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน 
ผลงานที่เป็นภาพคนมักจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกโลดแล่นราวคนจริง แสดงความโลดโผนของลีลาท่าทางมากกว่าการสื่อเพียงความงดงามของรูปร่างรูปทรง และความกลมกลืนของทัศนธาตุ และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ภาพคนนั้นจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา มีรอยพับอ่อนช้อยและปกคลุมร่วงกายส่วนใหญ่ไว้ด้วยรอยยับดังกล่าว ส่วนฉากหลังจะแสดงถึงทัศนียภาพอันกว้างไกล
1. งานจิตรกรรม  
        ส่วนใหญ่ยังคงรับรูปแบบ และเทคนิคจากสมัยเรเนสซองส์ แต่ได้พัฒนาฝีมือและเทคนิคการผสมสีที่วิจิตงดงามยิ่งขึ้น นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฎตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับคริสต์ศาสนา



พระราชวังแวร์ซายส์
2. งานสถาปัตยกรรม
แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหราและการประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวร์ซายส์ Versaillesของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส 
3. ศิลปะด้านดนตรี
มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ 
4. งานด้านวรรณกรรม
ในสมัยคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค ( John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ ( Moliere)เป็นต้น

ศิลปะแบบโรโคโค
ศิลปะโรโคโค  (ภาษาอังกฤษ : Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโกโกเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโกโกจะเป็น เอกภาพ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ 

จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิษฐ์ประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง (tapestry) ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค

คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึงหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนต้วของใบไม้ เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิษฐ์ประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อ และเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น 

คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

ประวัติ
โรโคโคที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโคโคจะไม่เป็นที่นิยมแต่โรโคโคที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงินเครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค 
ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753)แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิคซิสม์ (Classicismซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลักศิลปะโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมแบบกอธิค("สมัยฟื้นฟูกอธิค"(GothicRevival))เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18

ศิลปินสมัยโรโคโค


ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) 10 ตุลาคม พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1684) – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2264 (ค.ศ. 1721) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของ ชนชั้นสูง” (fêtes galantes) อองตวน วัตโตว์เป็นหนึ่งนักวาดภาพร่างยิ่งใหญ่ใน
ประวัติศาสตร์ของศิลปะยุโรป



ภาพวาด การเริ่มดำเนินการสำหรับไซเธอรา เป็นงานที่อองตวน วัตโตว์ได้รับความเป็นสมาชิกราชสถาบันศิลปะ (royal academy) เต็มตัวในพ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) มันสร้างสร้างชื่อให้เขาว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญของชนชั้นสูงเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์เศร้าโศกและแปลกประหลาดในวันของเขา ไม่นานก่อนความตายของเขา วัตโตว์วาด พินัยกรรมทางศิลปะของเขา ป้ายร้านของเชร์แซ็งต์(L'Enseigne de Gersaint, Gersaint’s Sign Shop) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพวาดสุดท้ายของวัตโตว์



ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher)



คิวปิดแกะลูกศรจากกระบองของเฮอร์คิวลีส โดย บูชาดอง



Diana Leaving her Bath โดย ฟรังซัวส์ บูแชร์



ประติมากรรมชื่อ ปิเอตา ( Pieta )


ผลงานของ มิเคลันเจโล (Michelongelo Buonarroti) แสดงคุณค่าด้านความงามขององค์ประกอบศิลป์ที่จัดไว้ในแนวกรอบของรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่นิยมกันมากในผลงาน ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)
นอกจากนั้นยังแสดงความงามของแนวเส้นโค้งของพระเศียรพระแม่มาเรียที่ก้มพระพักตร์ลงกับแนวเส้นโค้งของพระวรกายองค์พระเยซูที่นอนพาดอยู่บนตักอย่างงดงามกลมกลืน ได้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างดี ทำให้มองเห็นถึงความรู้สึกของแม่ผู้มีความรักความผูกพันต่อลูก รวมทั้งยังได้คุณค่าสาระทางด้านศาสนาอีกด้วย

อ้างอางจาก: http://50010110582inet.blogspot.com/2009/11/blog-post_1962.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น