7 สิ่งมหัศจรรย์แห่ง "ยุคปัจจุบัน"
1.ชิเชน อิตสา : (Chichen Itza)
ชีเชนอิตซา
แหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่สร้างขึ้นโดยชาวมายาในเขตวัฒนธรรมเมโสอเมริกัน
ตั้งอยู่ในคาบสมุทรยูกาตังรัฐยูกาตัง ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก
ชีเชนอิตซาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองจำนวนมากมาย
ซึ่งพวกมายาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเทพเจ้าผู้ทรงกระหายพระโลหิต
ลักษณะโดยทั่วไปของชีเชนอิตซา
ทำเป็นรูปเหลี่ยมลดขั้นเป็นชั้น ๆ บนเนื้อที่ราว 6.4 ตารางกิโลเมตร
มีบันไดกลาง วิหารที่ใหญ่สุดมีชื่อว่า
"วิหารแห่งนักรบ"สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หลังจากสร้างวิหารเก่าแห่งชักโมลตรงกลางสร้างเป็นปราสาทเหลี่ยมทึบสูงขึ้นไป
ใช้เป็นที่ทำพิธีสังเวยเทพเจ้าโดยใช้เด็กสาวโยนลงไปถวายเทพเจ้า ณ ที่นั้น รอบ ๆ
ห่างออกมาทำเป็นบริเวณตลาดทำนองเดียวกับสถานสถิตยุติธรรมของพวกโรมันซึ่งอยู่กลางเมืองที่สาธารณะและเป็นที่รวมของฝูงชน
ชนเผ่ามายาแห่งเม็กซิโกสืบสายมาจากคนพวกแรกที่เดินทางจากทวีปเอเชีย
เข้ามายังทวีปอเมริกาทางช่องแคบเบริงได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมทั้งในด้านเหี้ยมโหดอันป่าเถื่อนและความมีสติปัญญาอันสูงส่งในขณะเดียวกัน
พวกมายาฝึกความเสียสละด้านมนุษยชาติควักหัวใจผู้ที่รับการบูชาออกสังเวยพระเจ้าขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาความรู้ด้านดาราศาสตร์
ศิลปะของสถาปัตยกรรม ทางอักษรศาสตร์ด้านการเขียนบันทึกด้วยตัวอักษรพิเศษ
และการค้นพบค่าของเลข 0 ทางคณิตศาสตร์แต่ก็น่าแปลกที่พวกเขามิได้ค้นพบประโยชน์อันเกิดจากล้อเลื่อน
ศูนย์กลางของอารยธรรมของคนพวกนี้อยู่ที่ ชีเชนอิตซา
ในคาบสมุทรยูกาตัง
ผู้ค้นพบขุมอารยธรรมเหล่านี้แล้วนำออกมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้ทราบคือ นายทอมป์สัน
ชาวอเมริกันผู้ใช้ชีวิตซอกซอนท่องเที่ยวไปในหมู่พวกมายา
ด้วยความสนใจจะศึกษาสิ่งลึกลับต่างๆ
2.รูปปั้นของพระเยซูเมืองริโอ เดอ จาเนโร (Statue Cristo Redentor)
อูกริชตูเรเดงโตร์
เป็นรูปปั้นพระเยซูคริสต์ตั้งอยู่ที่ยอดเขากอร์โกวาดูประเทศบราซิล มีความสูงราว 38 เมตร ได้รับการออกแบบโดยเอโตร์ ดา ซิลวา กอชตาชาวบราซิล และสร้างโดยปอล
ลันดอฟสกี ประติมากรชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโปแลนด์ใช้เวลาในการสร้าง 5 ปี โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ตุลาคม
ปี พ.ศ. 2474
ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทั้งยังเป็น
1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของนครรีโอเดจาเนโรและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวบราซิลมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ราว
1,800,000 รายต่อปีซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปฐานของรูปปั้น
สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขา Sugar Loaf กลางเมือง Rio
de Janeiro และชายหาดของ Rio de Janeiro
3.โคลอสเซียมสนามกีฬากรุงโรม( Colosseum of Rome)
โคลอสเซียม (Colosseumหรือ Flavian Amphitheatre; อิตาลี: Colosseo
- โคลอสโซ) ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)
เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรมเริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมันและสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททั ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็น รูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทราย
วัดโดยรอบได้ประมาณ
527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000
คนมีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรีเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬาและมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อ ไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตกถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่าง
ๆ ในปัจจุบัน
4.กำแพงเมืองจีน (Great Wall of China)
กำแพงเมืองจีน เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัยพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรกกำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์กหลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกันแต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อน จากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ เพราะมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตรและนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่าหากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้
5.มาชูปิกชูอาณาจักรอินคา (Inca city)
มาชูปิกชู (Machu
Picchu) หรือนิยมเรียกอีกชื่อว่า เมืองสาบสูญแห่งอินคา
เป็นซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคาตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู
ที่ความสูงประมาณ 2,350 เมตร
อารยธรรมแห่งนี้ได้ถูกลืมโดยคนภายนอก
จนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดีที่ชื่อ ไฮแรมบิงแฮม เมื่อ พ.ศ. 2454
มาชูปิกชูเป็นหลักฐานที่สำคัญของจักรวรรดิอินคา ในปี พ.ศ.
2526 องค์กรยูเนสโกได้กำหนดมาชูปิกชูให้เป็นมรดกโลกโดยทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คนนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์
มาชูปิกชู ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุสโกไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตรบนยอดของทิวเขามาชูปิกชู ที่ระดับ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเลสถานที่แห่งนี้นับเป็นศูนย์กลาง ที่มีความสำคัญยิ่งทางโบราณคดีของอเมริกาใต้และเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่มาเยือนประเทศเปรู
จากยอดเขา ณ หน้าผามาชูปิกชูเป็นหน้าผาที่มีลักษณะดิ่งชันสูงถึง 600 เมตร จากฐานที่เป็นแม่น้ำคือแม่น้ำอารูบัมบา ที่ตั้งของตัวเมืองนับเป็นความลับทางการทหารก็เนื่องจากการเป็นหน้าผาสูงชันที่มีอันตรายที่เป็นปราการป้องกันธรรมชาติอันยอดเยี่ยมนั่นเอง
ในปี พ.ศ. 2546 มีผู้คนประมาณ 400,000 คนไปท่องเที่ยวที่มาชูปิกชู และยูเนสโกได้ส่งข้อความสารแสดงถึงความเสียหายจากนักท่องเที่ยวที่ไปเป็นจำนวนมากแต่ทางผู้มีอำนาจของทางเปรูบอกว่าเรื่องนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ถึงอย่างไรการคัดค้านนั้นทำให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ที่ไปเที่ยวชม และจำกัดจำนวนผู้เช้าชมและได้มีการเสนอให้ติดตั้งรถกระเช้าแต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธอยู่ตลอดและดูไม่มีทางจะเป็นไปได้ทุกที
มาชูปิกชู ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุสโกไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตรบนยอดของทิวเขามาชูปิกชู ที่ระดับ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเลสถานที่แห่งนี้นับเป็นศูนย์กลาง ที่มีความสำคัญยิ่งทางโบราณคดีของอเมริกาใต้และเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่มาเยือนประเทศเปรู
จากยอดเขา ณ หน้าผามาชูปิกชูเป็นหน้าผาที่มีลักษณะดิ่งชันสูงถึง 600 เมตร จากฐานที่เป็นแม่น้ำคือแม่น้ำอารูบัมบา ที่ตั้งของตัวเมืองนับเป็นความลับทางการทหารก็เนื่องจากการเป็นหน้าผาสูงชันที่มีอันตรายที่เป็นปราการป้องกันธรรมชาติอันยอดเยี่ยมนั่นเอง
ในปี พ.ศ. 2546 มีผู้คนประมาณ 400,000 คนไปท่องเที่ยวที่มาชูปิกชู และยูเนสโกได้ส่งข้อความสารแสดงถึงความเสียหายจากนักท่องเที่ยวที่ไปเป็นจำนวนมากแต่ทางผู้มีอำนาจของทางเปรูบอกว่าเรื่องนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ถึงอย่างไรการคัดค้านนั้นทำให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ที่ไปเที่ยวชม และจำกัดจำนวนผู้เช้าชมและได้มีการเสนอให้ติดตั้งรถกระเช้าแต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธอยู่ตลอดและดูไม่มีทางจะเป็นไปได้ทุกที
6.เปตรา
(Petra)
นครเปตราคือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี
มูซาหุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดนนครนี้แต่เดิมนั้น
เป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก
บวร์กฮาร์ทเดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (one of the most precious cultural properties of man's cultural heritage) ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือ พวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับคนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือน และอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมืองพวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตรา ตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้งมีแต่หินกับทรายนั้น ก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตกคาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรียนอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือหุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้ง ใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว
เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบนักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่าเมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยานเครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้นผ้าย้อมของชาวฟินิเซียน ล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชาวเปอร์เซีย
เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่าผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลและชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก
ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือเทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
ด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลาต่อมาเปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลงเมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส (Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมันแต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อย ๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน
ถึงแม้ซากเมืองเปตรา จะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่นมีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลก เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ เมื่อปีพ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตราแต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่นบวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆคร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมือง และเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de l'ArabiePétrée" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (one of the most precious cultural properties of man's cultural heritage) ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือ พวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับคนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือน และอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมืองพวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตรา ตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้งมีแต่หินกับทรายนั้น ก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตกคาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรียนอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือหุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้ง ใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว
เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบนักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่าเมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยานเครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้นผ้าย้อมของชาวฟินิเซียน ล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชาวเปอร์เซีย
เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่าผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลและชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก
ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือเทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
ด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลาต่อมาเปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลงเมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส (Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมันแต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อย ๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน
ถึงแม้ซากเมืองเปตรา จะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่นมีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลก เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ เมื่อปีพ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตราแต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่นบวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆคร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมือง และเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de l'ArabiePétrée" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่
7.ทัชมาฮัล
(TajMahal)
ทัชมาฮัล ตั้งอยู่ที่
เมืองอักราประเทศอินเดีย
เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ของโลกเพราะที่นี่เป็นสุสานฝังศพของ
มุมทัชมาฮัล ราชินีผู้ป็นที่รักยิ่งของพระเจ้าชาห์เยฮัน อยู่ในเมืองอัคระ
บนฝั่งแม่น้ำยมนาประเทศอินเดีย
ทัชมาฮาลสุสานหินอ่อน ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลกถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดีย ผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุ เพคุมธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนางเจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปี และบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตร สาวของรัฐมนตรีพิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหานขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุมและเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศและพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
ในปี พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรสโอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหานขัง และขึ้นครองราชบัลลังก์แทนพระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่า ให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืมมีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสีแต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่า พระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซมาฮาล
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาลซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลงประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและ เครื่องประดับจากมิตรประเทศได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่ออุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม
ทัชมาฮาลสุสานหินอ่อน ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลกถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดีย ผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุ เพคุมธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนางเจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปี และบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตร สาวของรัฐมนตรีพิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหานขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุมและเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศและพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
ในปี พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรสโอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหานขัง และขึ้นครองราชบัลลังก์แทนพระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่า ให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืมมีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสีแต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่า พระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซมาฮาล
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาลซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลงประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและ เครื่องประดับจากมิตรประเทศได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่ออุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น